คาร์ซีทดีที่สุด ช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และช่วยรักษาชีวิตลูกน้อยของคุณได้

คาร์ซีทดีที่สุด ช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
และช่วยรักษาชีวิตลูกน้อยของคุณได้

คาร์ซีท ที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยครบถ้วน ไม่อาจช่วยอะไรได้เลย

 

การเดินทางท่องเที่ยวจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกน้อยของท่านเมื่อไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมการเดินทางระยะทางใกล้ๆในชีวิตประจำวันของลูกน้อยก็กลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกวันนี้ กระนั้นก็ตามขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง ไม่ว่าความรุนแรงมากหรือน้อย ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ การเดินทางตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระยะใกล้ จากบ้านไปร้านอาหารใกล้บ้าน ไปโรงเรียน ไปเยี่ยมคุณตาคุณยาย ไปท่องเที่ยวระยะทางใกล้ๆ หรือไปท่องเที่ยวระยะทางไกล ในทุกการเดินทาง ถึงแม้เราจะขับรถอย่างระมัดระวังเพียงใดแล้วก็ตาม แต่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะรุนแรงเพียงใด อุบัติเหตุทางรถยนต์แม้ขนาดความรุนแรงเล็กๆ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายอันบอบบางของลูกน้อยที่โดยสารมาในรถยนต์ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางสูงสุด คาร์ซีท (Car Seat) คุณภาพสูงได้รับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยจากการทดสอบการชน หรือ Crash Test  กลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งโดยคาร์ซีทที่ได้รับมาตรฐานจะสามารถช่วยป้องกันอันตรายหรือลดอาการบาดเจ็บ และที่สำคัญคือช่วยป้องกันการสูญเสียชีวิตของลูกน้อยได้

 


 

 

 เรามาดูอุบัติเหตุทางรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนไหนของลูกน้อยของคุณกันบ้าง 

อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับศีรษะและคอ เป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นกับเด็กได้บ่อยที่สุด โดยเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือนมักจะถูกกระทบกระเทือนทางศีรษะจนหมดสติไป แต่กลุ่มอายุ 1-7 ปีมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกหักที่ฐานกะโหลกศีรษะ เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในเด็กที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ การบาดเจ็บเหล่านี้รวมถึงการบาดเจ็บที่สมอง กระดูกฐานกะโหลกศีรษะแตก และฟกช้ำตามศีรษะลำคอ การบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการพัฒนาชั่วคราวหรือถาวร รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรม หรือปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ ในกรณีเด็กบางรายที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสมองที่กำลังพัฒนาของเด็กเล็ก อย่างน่าเสียดายคือเกือบ 70% ของทารกทั้งหมดและมากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กวัยกำลังหัดเดินที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์พบว่ามีอาการบาดเจ็บทางศีรษะ
  • การบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัย โดยเด็กที่นั่งเบาะหน้ามีโอกาสบาดเจ็บมากกว่าเด็กที่นั่งเบาะท้ายรถยนต์ สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของการบาดเจ็บในกรณีนี้คือ ถุงลมนิรภัยของผู้โดยสารด้านหน้า ซึ่งอาจจะทำให้จมูกหรือคอของเด็กเล็กแตกได้ อีกประการหนึ่งความสูงของถุงลมนิรภัยต่ำก็ทำให้ศีรษะของเด็กอยู่ที่ระดับถุงลมนิรภัย อีกทั้งกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง เมื่อประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน อาจจะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือคอหักจนเสียชีวิตก็ได้ โดยการพองตัวของถุงลมนิรภัยก็อาจเป็นอันตรายสำหรับเด็กได้ หากผู้ผลิตรถยนต์ไม่ปฏิบัติตามข้อควรระวังด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม
  • การติดตั้งหรือใช้เบาะนั่งนิรภัยหรือคาร์ซีทสำหรับเด็กไม่ถูกต้อง เช่น เข็มขัดนิรภัยรัดที่นั่งไม่แน่นหรือไม่อยู่ในโหมดล็อค หรืออาจเกิดจากคลิปยึดสายรัดไม่อยู่ในระดับรักแร้ของเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ควรอ่านคู่มือคำแนะนำที่มาพร้อมกับเบาะนั่งนิรภัยหรือคาร์ซีทสำหรับเด็กอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้แน่ใจว่ามีการติดตั้งและใช้งานเบาะนั่งอย่างเหมาะสม ที่นั่งนิรภัยหรือคาร์ซีทสำหรับเด็กบางรุ่นไม่รองรับรถยนต์บางรุ่น คุณพ่อคุณแม่ควรทดลองใช้เบาะนั่งนิรภัยหรือคาร์ซีทสำหรับเด็กในรถยนต์ของคุณก่อนตัดสินใจซื้อ 
  • การบาดเจ็บที่กระจกหน้าต่างหรือกระจกบังลมที่แตกอาจทำให้เกิดบาดแผลบนใบหน้าของเด็ก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลเป็นได้ เพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บทางทันตกรรมและการบาดเจ็บที่ใบหน้า โดยเด็กมีแนวโน้มที่จะต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น
  • อาการบาดเจ็บที่หน้าอก ซึ่งเกิดจากการรัดเข็มขัดนิรภัยที่แน่นและสัมผัสกับที่นั่งด้านหน้า ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก ซึ่งรวมถึงกระดูกซี่โครงหัก การบาดเจ็บที่ปอด และเลือดออกภายใน เช่นเดียวกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ การกระแทกบริเวณหน้าอกสามารถสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะต่างๆ ในบริเวณทรวงอก รวมทั้งปอดและหัวใจ ในบรรดาเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี กระดูกซี่โครงหักเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นเพราะความนิ่มของกระดูก เด็กส่วนใหญ่ในกลุ่มอายุ 1-7 ปีที่ได้รับบาดเจ็บที่หน้าอกจะมีรอยฟกช้ำและฉีกขาดที่ปอด


สอบถามข้อมูล

 

  • การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังและกระดูกหัก โดยเด็กอาจได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ มือ และเท้า ขณะพยุงตัวรับแรงกระแทก  หลายครั้งตอนประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เด็กอาจถูกแรงชนจนร่างกระเด็นออกจากรถยนต์จนทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกโคนขาและแขน  โดยการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังแม้ว่าจะไม่เหมือนกับการบาดเจ็บที่ศีรษะและหน้าอก แต่เกือบ 16% ของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 12 เดือน ประสบกับภาวะกระดูกสันหลังหัก หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือแม้กระทั่งพบอาการกระดูกสันหลังและเส้นประสาทเสียหาย อย่างไรก็ตามกรณีของการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังนั้นพบได้น้อยในเด็กอายุ 1-7 ปี แต่ก็ทำให้เด็กเกิดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด และขาดความคล่องตัวและสนุกสนานตามวัย
  • อาการบาดเจ็บที่เบาะรถยนต์ ในขณะที่นั่งในรถยนต์โดยไม่มีที่ยึดสำหรับเด็กอย่างเหมาะสม ทำให้เป็นอันตรายมากกว่าการเอาเด็กไปนั่งในคาร์ซีทรถยนต์ แต่อุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้หากชำรุดหรือไม่ได้มาตรฐานระหว่างการชน
  • การบาดเจ็บที่ทำให้เด็กกลายเป็นผู้ทุพพลภาพถาวร เช่น การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การสูญเสียแขนขา หรือความเสียหายของเส้นประสาท มักเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ การชนแบบพลิกคว่ำยังมีอัตราการบาดเจ็บถึงชีวิตสูงสุดสำหรับเด็กอีกด้วย
  • เกิดปัญหาทางจิตใจ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่เด็กก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางจิตอันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุรถชน เด็กอาจต้องเข้ารับการบำบัดเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีเพื่อป้องกันไม่ให้ความปวดร้าวทางจิตไปรบกวนที่โรงเรียนหรือส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของพวกเขา
  • การใช้สายรัดนิรภัยที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้สายรัดที่ผิดประเภทโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นปัญหาทั่วไปในเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือเข็มขัดนิรภัยไม่สอดคล้องกับการออกแบบที่นั่งอย่างเหมาะสม
  • อาการบาดเจ็บจากพนักพิง  แม้ความเร็วจากการกระแทกต่ำ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการยุบตัวของพนักพิง  ซึ่งจะทำให้เกิดการอาการบาดเจ็บร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้หากเด็กได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากพนักพิงในระหว่างประสบอุบัติเหตุได้
  • ข้อบกพร่องของโครงสร้างและการออกแบบในรถยนต์ หน้าต่างด้านหลังอาจจะเล็กเกินกว่าจะมองเห็นได้ หรือตัวล็อคประตู เข็มขัดนิรภัย และถุงลมนิรภัยอาจชำรุด รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายกับรถยนต์ ยางที่ชำรุดอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เมื่อคนขับสูญเสียการควบคุมรถยนต์ได้เช่นกัน
    เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงความอันตรายต่อชีวิตของลูกน้อยของท่านแล้ว ก็พึงระมัดระวังในการเลือกใช้คาร์ซีทที่เหมาะสมกับบุตรธิดาของท่าน และก่อนการเดินทางอย่าลืมตรวจเช็คสภาพรถยนต์และล้อรถยนต์ให้พร้อมกับการเดินทาง และหากเกิดกรณีฉุกเฉินอย่าลืมเตรียมหมายเลขโทรศัพท์ไว้สำหรับขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะทำให้การเดินทางปลอดภัย สะดวกสบาย และไปถึงจุดหมายปลายทางได้ทันเวลา หากเกิดอุบัติเหตุต้องขอความช่วยเหลือก็จะได้ติดต่อหน่วยงานได้ทันช่วงที

    Britax Thailand ตัวแทนผู้ผลิตคาร์ซีทคุณภาพ ความปลอดภัยสูง ยาวนานกว่า 50 ปี และเป็นผู้คิดค้นระบบความปลอดภัยคาร์ซีทที่เรียกว่า ISOFIX รายแรกของโลก จนกระทั่งปัจจุบัน ระบบ ISOFIX ถูกใช้เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสาธารณะทั่วภาคพื้นยุโรป (EU) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่


 

Call center: 084 3883887

Email : Info@BritaxThailand.com

line: @britaxthailand



Visitors: 780,070